โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน
|
๚๛ โคลงโลกนิติ ๒๘ บท ที่พระวิหาร วัดบุปผาราม ๛๚ |
|
|
|
|
บทที่ ๑ |
|
|
๚๛ หมอแพทย์ทายว่าไข้ ลมคุม
โหรว่าเคราะห์แรงรุม โทษให้
แม่มดว่าผีกุม ทำโทษ
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ ก่อสร้างมาเอง ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๒ |
|
|
๚๛ นกแร้งบินเพื่อได้ เวหา
หมู่จระเข้ เต่า ปลา พึ่งน้ำ
เข็ญใจพึ่งราชา จอมราช
ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ เพื่อน้ำ นมแรง ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๓ |
|
|
๚๛ กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
บ่ห่อนรู้รสมาลย์ หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน โยชน์หนึ่ง ก็ดี
บินโบกมาค่อยค้อย เกลือกกลั้วเสาวคนธ์ ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๔ |
|
|
๚๛ เปือกตมชมชื่นเชื้อ เกษร
หงส์กับบุษบากร ชื่นช้อย
ภิกษุเสพสังวร ศีลสุข ไซร้นา
บุรุษรักรสร้อย เท่าน้อม ในหญิง ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๕ |
|
|
๚๛ ในบัวฝนตกน้ำ ขาดขัง
ลูกข่างวางบนหลัง มิ่งม้า
เสาหลักปักอยู่ยัง กองแกลบ นาพ่อ
คนบ่แม่นถ้อยอ้า พูดแล้วโอนเอน ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๖ |
|
|
๚๛ มหาสมุทรสุดลึกล้น คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้ หยั่งถึง ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๗ |
|
|
๚๛ น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดยตาม ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๘ |
|
|
๚๛ รูปแร้งดูร่างร้าย รุงรัง
ภายนอกเพียงพึงชัง ชั่วช้า
เสพสัตว์ที่มรณัง นฤโทษ
ดั่งจิตสาธุชนกล้า กลั่นสร้างทางผล ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๙ |
|
|
๚๛ ยางขาวขนเรียบร้อย ดูดี
ภายนอกสดใสสี เปรียบฝ้าย
กินสัตว์เสพปลามี ชีวิต
เฉกเช่นชนชาติร้าย นอกนั้นนวลงาม ๛๚ |
|
|
|
|
|
บทที่ ๑๐ |
|
|
๚๛ เมื่อร้อยน้ำท่านให้ เย็นใจ
เมื่อเยือกเย็นได้ไฟ อุ่นเนื้อ
เมื่อทุกข์ท่านแก้ไข ชูช่วย
เมื่อยากจนท่านเกื้อ ก่อให้ทุนทำ ๛๚ |
|